ข่าวสาร นปร. โครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) : Public Service Agent for Change Development Program (PSAC) ศึกษาดูงานกิจกรรมการปฏิบัติราชการด้านวิชาการ ณ กระทรวงกลาโหม

13 มิถุนายน 2567
95
เมื่อวันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2567 หม่อมหลวงพัชรภากร เทวกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. นำคณะข้าราชการภายใต้โครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) รุ่นที่ 16 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เข้าพบ นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และคณะผู้บริหาร ณ ห้องหลักเมือง 1 กระทรวงกลาโหม

ข่าวสาร นปร. โครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) รุ่นที่ 16 Public Service Agent for Change Development Program (PSAC) PSAC 16


เมื่อวันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2567 หม่อมหลวงพัชรภากร  เทวกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. นำคณะข้าราชการภายใต้โครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) รุ่นที่ 16 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เข้าพบ นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และคณะผู้บริหาร ณ ห้องหลักเมือง 1 กระทรวงกลาโหม รายละเอียดดังนี้

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบนโยบาย และข้อแนะนำในการปฏิบัติราชการให้แก่ข้าราชการในโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) รุ่นที่ 16 : Public Service Agent for Change Development Program (PSAC) 


-- นายสุทิน คลังแสง (รมว.กห.) ได้กล่าวว่า การเป็นข้าราชการต้องยึด 3 หลัก คือ 1) หลักการทำงานภายใต้กฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง 2) หลักวินัย และ 3) หลักสำนึกโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เพราะประชาชนคือนาย อำนาจจึงต้องใกล้ประชาชนมากที่สุด และการทำงานต้องสร้างการมีส่วนร่วมในทุกระดับ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น รวมทั้งต้องมีการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) 

-- นายสุทิน คลังแสง (รมว.กห.) กล่าวต่อไปว่า ข้าราชการยุคใหม่ต้องปรับตัวเก่ง มีทักษะทางสังคม (Social skills) หรือศัพท์ทางการทหารที่เรียกว่า “สนธิกำลัง” และมีความสมดุล 3 ด้าน คือ 1) ด้านการออกแบบชีวิต 2) ด้านการมีเกียรติอย่างพองาน และ 3) ด้านการพักผ่อน


-- การจัดกิจกรรมฯ ในครั้งนี้ ทำให้ นปร. รุ่นที่ 16 ได้มีโอกาสเรียนรู้จากลงพื้นที่ และสร้างประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับเป้าประสงค์หลักของโครงการฯ เพื่อพัฒนาผู้เข้าร่วมโครงการฯ ให้เป็นข้าราชการที่มีความพร้อมในการพัฒนาระบบราชการ สามารถทำงานเชิงบูรณาการได้กับทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้อง (Agile Workforce) ทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนนวัตกรรม การบริการภาครัฐที่มี Value และ Impact ตลอดจนมีบทบาทเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) และมีขีดความสามารถเพื่อขยายผลการพัฒนาระบบราชการ (Agile Coach) ภายใต้โจทย์การพัฒนา 3 หมุดหมาย ได้แก่ 1) การเสริมสร้างระบบเพื่อเพิ่มศักยภาพและบทบาทของผู้ประกอบการเกษตร 2) การลดความยากจนด้วยการพัฒนากำลังคนภาคแรงงานและภาคการศึกษา และ 3) การบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในทุกมิติ  


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

Line@ : @psacsmart

95