สำนักงาน ก.พ.ร. จัดอบรมหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเเละธรรมาภิบาล รุ่นที่ 1 ประจำวันที่ 21 มกราคม 2565

18 กุมภาพันธ์ 2565
69
วันที่ 21 มกราคม 2565 เวลา 9.00-12.00 น. สำนักงาน ก.พ.ร. จัดอบรมหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาล รุ่นที่ 1 โดย ดร. พรายพล คุ้มทรัพย์ เป็นผู้บรรยายเรื่อง Public Sector and the Economy: Roles of Policies, Regulations, and Incentives. มุ่งเน้นประเด็นสำคัญในเรื่องแนวคิดการแทรกแซงของภาครัฐในระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเกิดกรณี “ตลาดล้มเหลว (Market Failure)” ทั้งในเรื่องสินค้าสาธารณะที่ไม่มีการผลิตภายใต้กลไกตลาดปกติ เช่น การป้องกันประเทศ เป็นต้น สินค้า/กิจกรรมที่กระทบบุคคลนอกตลาด การผูกขาดอันทำให้กลไกการตลาดไม่ทำงาน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และความผันผวนทางเศรษฐกิจ ซึ่งภาครัฐนั้น จะมีบทบาทและนโยบายที่แทรกแซงได้โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ 1. กรอบ/โครงสร้างด้านกฎหมายและสังคม 2. การจัดให้มีสินค้าหรือบริการสาธารณะ 3. การส่งเสริมหรือควบคุม Ve externalities 4. การส่งเสริมการแข่งขันในตลาด 5. การลดความเหลื่อมล้ำ และ 6. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ซึ่งการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ภาครัฐจะเป็นผู้กำหนดให้การใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจมหภาคหรือจุลภาค เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น

          วันที่ 21 มกราคม  2565 เวลา 9.00-12.00 น. สำนักงาน ก.พ.ร. จัดอบรมหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาล รุ่นที่ 1 โดย ดร. พรายพล คุ้มทรัพย์  เป็นผู้บรรยายเรื่อง Public Sector and the Economy: Roles of Policies, Regulations, and Incentives. มุ่งเน้นประเด็นสำคัญในเรื่องแนวคิดการแทรกแซงของภาครัฐในระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเกิดกรณี “ตลาดล้มเหลว (Market Failure)” ทั้งในเรื่องสินค้าสาธารณะที่ไม่มีการผลิตภายใต้กลไกตลาดปกติ เช่น การป้องกันประเทศ เป็นต้น สินค้า/กิจกรรมที่กระทบบุคคลนอกตลาด การผูกขาดอันทำให้กลไกการตลาดไม่ทำงาน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และความผันผวนทางเศรษฐกิจ ซึ่งภาครัฐนั้น จะมีบทบาทและนโยบายที่แทรกแซงได้โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ 1. กรอบ/โครงสร้างด้านกฎหมายและสังคม 2. การจัดให้มีสินค้าหรือบริการสาธารณะ 3. การส่งเสริมหรือควบคุม Ve externalities 4. การส่งเสริมการแข่งขันในตลาด 5. การลดความเหลื่อมล้ำ และ 6. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ซึ่งการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ภาครัฐจะเป็นผู้กำหนดให้การใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจมหภาคหรือจุลภาค เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น  

69