เกี่ยวกับโครงการ นปร.
หน้าแรก / / นปร.คืออะไร

WHAT IS PSAC?

นปร. ย่อมาจาก โครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (Public Service Agent for Change Development Program : PSAC)

คือ โครงการที่สรรหา คัดเลือก บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีสมรรถนะสูง เพื่อเข้ารับราชการและพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการสอนงานเพื่อถ่ายทอดความรู้ จากวิทยากรที่มากประสบการณ์ รวมถึงการปฏิบัติราชการในหน่วยงานต่างๆ โดยการสอนงานของผู้บริหาร ระดับสูง ทั้งจากภาครัฐและเอกชน โดยมีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาให้ข้าราชการ ในโครงการฯ เป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานภาครัฐ ที่มีความสามารถ เป็นทั้งนักคิดที่มีวิสัยทัศน์ (Visionary Thinker) นักพัฒนาและวางแผน (Developer & Planner) และนักปฏิบัติ (Operator) ได้อย่างสมดุล มีความสามารถเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านความคิด ด้านวิชาการ และการบริหารจัดการองค์การ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อพัฒนาผู้เข้าร่วมโครงการฯ ให้เป็นข้าราชการที่มีความสามารถสูง
มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)
ที่มีวิสัยทัศน์และสมรรถนะครบครัน ในการปฏิบัติงาน สามารถริเริ่ม ปรับตัว
และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงยุทธศาสตร์ ของระบบราชการ โดยคํานึง
ถึงประโยชน์สุขของประชาชน สังคม และประเทศชาติ

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการฯ

ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) ต้องเป็น
  • ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท อายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ และ
  • ผู้ที่สําเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก อายุไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ปิดรับสมัคร จากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ ที่ได้รับการรับรองจาก สํานักงาน ก.พ.

วิธีการคัดเลือก

การทดสอบความรู้พื้นฐาน

ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม
จะต้องผ่านการทดสอบความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วย
1) วิชาความสามารถทางภาษาไทย (เน้นความสามารถทางด้านการสื่อสาร)
2) วิชาความถนัดทางเชาวน์ปัญญา
3) วิชาความสามารถทางภาษาอังกฤษ (CU-TEP) โดยผู้สมัครที่มีผลสอบ TOEFL ได้คะแนน
ตั้งแต่ 79 ขึ้นไป สําหรับการสอบแบบ Internet-based Testing หรือ ผลสอบ
IELTS ได้คะแนนตั้งแต่ 6.0 ขึ้นไป หรือผลสอบ CU-TEP ได้คะแนนตั้งแต่ 80 ขึ้นไป
โดยผลสอบดังกล่าวจะต้องมีอายุ ไม่เกิน 2 ปี นับจากวันสอบถึงวันที่สมัคร
จะได้รับการยกเว้นการสอบวิชาความสามารถทางภาษาอังกฤษ (CU-TEP)

การทดสอบข้อเขียน

การทดสอบข้อเขียนเพื่อประเมินความรู้ ความสามารถ
ในการวิเคราะห์ การใช้ความคิด เชิงเหตุผลและความคิด
ในเชิงสร้างสรรค์ ในประเด็นร่วมสมัยของไทย ทางด้านการ
บริหาร ราชการแผ่นดิน การเมือง การปกครอง กฎหมาย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี

การประเมินความเหมาะสมทาง
บุคลิกภาพ พฤติกรรมและเชาวน์อารมณ์

1) การประเมินพฤติกรรมด้วยวิธี Assessment Center
ซึ่งเป็นการประเมินพฤติกรรมของผู้สมัครสอบจากการสังเกต
ในสภาวการณ์ต่างๆ ที่ผู้สมัครได้พบเจอในสถานที่ และเวลา อันจํากัด
อาทิเช่น การควบคุมอารมณ์ การแสดงภาวะผู้นํา และการแก้ใขปัญหา
เฉพาะหน้า เป็นต้น

2) การประเมินบุคลิกภาพด้วยการสอบสัมภาษณ์
โดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางสาขาวิชาต่างๆ มาเป็นกรรมการ
ในการสอบ ผู้สมัครจะต้องสอบผ่าน การทดสอบตามขั้นตอนที่ 3
จึงมีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการพัฒนา นักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่

หลักสูตรของโครงการ นปร.

ความรู้เรื่องระบบราชการ

ความรู้เรื่องระบบราชการ เพื่อให้เข้าใจความหมาย ความสําคัญ หลักการ องค์ประกอบและการจัด โครงสร้างของระบบราชการทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น รวมถึงองค์ความรู้การบริหารราชการไทยในทุกมิติ ทั้งด้านการเมืองการปกครองประเทศ ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านระบบงบประมาณแผ่นดิน และด้านกฎหมาย ที่เกี่ยวของกับ การบริหารราชการไทย

ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ
และแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์

เพื่อให้เข้าใจสาระสําคัญของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บท แผนการปฏิรูป ประเทศ และแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นกรอบและทิศทาง ในการพัฒนาประเทศ รวมถึงความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ชาติ แผนต่าง ๆ นโยบายรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน

การพัฒนาประเทศภายใต้โลกาภิวัตน์
(Globalization)

เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การสร้างความร่วมมือต่าง ๆ และบทบาทของประเทศไทย ในสังคมโลก โดยครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจ สังคม และวิถีการดํารงชีวิตของประชาคมโลก ที่ส่งผลต่อ ประเทศไทย และการดําเนินการของประเทศไทยเพื่อให้สอดรับกับการ

ทักษะการใช้ภาษาและทักษะเฉพาะด้าน
สําหรับงานราชการ

เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านการสื่อสาร ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่าง เป็นระบบ สามารถนําเสนอข้อมูล ได้อย่างมืออาชีพ และทักษะเฉพาะด้าน ที่มีความสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับงานราชการ รวมถึงยกระดับ ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเป็นผู้นําแห่งอนาคต
(Leading to the Future)

เพื่อพัฒนาทักษะด้านการคาดการณ์ การวิเคราะห์สถานการณ์ และการ สร้างภาพอนาคตในบริบทต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง พลังงาน สิ่งแวดล้อม ฯลฯ แล้วนํามาปรับใช้ในการกําหนดแผนงานต่าง ๆ ให้สอดรับการการวิเคราะห์ดังกล่าวได้

การคิดเชิงกลยุทธ์
(Strategic Thinking)

เพื่อให้เห็นความสําคัญของการคิดเชิงกลยุทธ์ เข้าใจหลักการและกระบวนการ พัฒนาระบบความคิด ตามแนวความคิดเชิงกลยุทธ์ รวมถึงเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้สนับสนุนให้สามารถสร้างกระบวนการคิดเชิงกยุทธ์และสามารถเชื่อมโยง ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

การปฏิรูปองค์กร
(Transforming Organizations)

เพื่อเข้าใจแนวคิดและพัฒนาทักษะที่สําคัญของการเป็นผู้นําในการสร้างความ เปลี่ยนแปลงในองค์กร และแนวทางการบริการจัดการองค์กรเพื่อการพัฒนา องค์กรให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง การเพิ่มประสิทธิภาพ ขององค์การและ การทํางาน เน้นการสร้างงานด้วยการทํางานเป็นทีม การบริหารงานคุณภาพ และเพิ่มผลผลิต การจัดการความเสี่ยง การบริหารงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน

ทักษะการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล
(Digital Transformation Skills)

เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัลให้มีความพร้อมต่อการขับเคลื่อนภาครัฐสู่ องค์กรดิจิทัล ทั้งในระดับนโยบายและองค์กรภาครัฐ สามารถนําเทคโนโลยี ดิจิทัลทางด้านการคํานวณ การประมวลผล และการนําเสนอ มาประยุกต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหาร จัดการและการบริการ ของหน่วยงานภาครัฐอย่างมีแบบแผนและเป็น

ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนา
นวัตกรรม และการนําเสนออย่างมืออาชีพ

เพื่อเข้าใจแนวคิด องค์ประกอบ กระบวนการคิดและเทคนิคการพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ และกลยุทธ์ เชิงออกแบบเพื่อการพัฒนาความคิด สร้างสรรค์สู่การปฏิบัติในระบบราชการ ผ่านการศึกษาตัวอย่างการพัฒนา ผลงานนวัตกรรมที่นําไปใช้งานจริง อีกทั้ง สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

จริยธรรมและคุณธรรม

เพื่อสร้างเสริมจริยธรรมและคุณธรรมของการเป็นข้าราชการที่ดี จรรยาบรรณและธรรมภิบาลกับการบริหารราชการ ตลอดจนสร้าง วัฒนธรรมองค์กรที่ดี โปร่งใส เป็นธรรม เกิดความผาสุกและสร้างความ ผูกพันในระหว่างบุคคลและองค์กร